Skip to content

เสาเข็มคืออะไร? และสาเหตุของการทรุดตัวของบ้านเกิดจากอะไร

  • by

สาเหตุของการทรุด

การทรุดของบ้านนั้นมีอยู่หลายสาเหตุ แต่ส่วนมากมักมาจากเสาเข็มและพื้นดินที่ใช้ในการสร้างบ้าน สาเหตุหลักที่เรามักเจอกันบ่อยๆได้แก่

  • ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ

โดยปกติในการสร้างบ้านเราควรลงเสาเข็มให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง เพราะจะได้มีแรงต้านช่วยพยุงให้บ้านมีความแข็งแรง แต่สำหรับบ้านใครที่มีเสาเข็มยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง ก็แปลว่าน้ำหนักของบ้านทั้งหลังมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น ต้องทำใจว่าอาจจะเกิดการทรุดตัวอย่างรวดเร็วในอนาคตได้ โดยเฉพาะหากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดินซึ่งเคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียดทานของดินจะยิ่งน้อย อัตราการทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตามไปด้วย สำหรับความลึกของเสาเข็มว่าต้องลงเท่าใด จะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ บางแห่งที่มีชั้นดินแข็งมากๆ เช่นบนภูเขาหรือบริเวณภาคเหนือ เราอาจจะไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมากหรือใช้แค่ฐานรากแบบไม่ต้องมีเสาเข็มเลยก็ได้

  • ปลายของเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน

หมายความว่าบ้านหลังเดียวกันอาจจะมีระดับของชั้นดินไม่เท่ากันหรืออยู่ในดินคนละประเภทกัน หากเราออกแบบหรือใช้เสาเข็มประเภทเดียวกันเท่ากันทั้งหมดเลย ทำให้บ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน อาจจะนำไปสู่ทรุดหรือแตกร้าวของตัวบ้านได้ วิธีที่แนะนำคือควรเจาะสำรวจดิน (SOIL BORING TEST) เป็นการเจาะหรือขุดดินเพียงเล็กน้อย เพื่อต้องการทราบชนิดของดิน การเรียงตัวของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดินและอื่นๆ  เพื่อดูความแข็งแรงของดินและใช้คำนวณหาการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้าง เพื่อที่จะได้ทำการออกแบบฐานรากและเสาเข็มให้เหมาะสม

  • เสาเข็มแตกหัก

เมื่อเสาเข็มชำรุดจะไม่สามารถถ่ายน้ำหนักไปยังดินแข็งได้ ทำให้บ้านเกิดการทรุดเอียงซึ่งการทรุดในลักษณะนี้จะไม่ค่อยเห็นรอยแตกที่โครงสร้างส่วนบน แต่จะพบรอบแตกที่ฐานรากหรือเสาตอม่อ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวในการซ่อมแซม

  • เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ

การเลือกใช้เสาเข็มไม่ได้ดูเฉพาะความยาวเพียงอย่างเดียวนะคะ หากเราไม่ได้ทำการสำรวจสภาพชั้นดิน อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น เจอดินที่เพิ่งถมมาใหม่ๆยังไม่แน่นตัว หรือคำนวณการใช้เสาเข็มมาไม่เพียงพอเป็นต้น

  • การเคลื่อนตัวหรือการทรุดของดิน

การทรุดของดินมักเกิดขึ้นหลังที่เราสร้างบ้านเสร็จแล้ว โดยอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การขุดดินบริเวณข้างเคียงทำให้ดินเคลื่อนตัวดันเสาเข็มให้เคลื่อนออกจากเดิม เป็นต้น  การเคลื่อนไหลของดินจะเกิดขึ้นได้กับพื้นที่ที่มีความต่างระดับของพื้นดินมากๆ โดยเฉพาะถ้าบริเวณนั้นเป็นดินเหนียวอ่อนจะยิ่งมีโอกาสเคลื่อนไหลได้ง่าย เช่น บริเวณริมแม่น้ำ จึงอาจจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างมาเป็นพิเศษที่ใช้ในการรับน้ำหนักตัวบ้าน หรือ แนะนำให้ทำกำแพงป้องกันการเลื่อนไหลของดินให้มีความแข็งแรงเพียงพอก่อนที่จะติดตั้งเสาเข็มของบ้าน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด

https://www.nmp.co.th

https://www.narongmicrospun.com

https://www.facebook.com/narongmicrospun

Tel : 02-159-8480

Mobile : 081-309-7695 , 086-413-3862

Leave a Reply