รวมบทความที่น่าสนใจ
ทำความรู้จักกับบ้านสำเร็จรูป (PREFAB)
ปัจจุบันรูปแบบการก่อสร้างล้ำ ๆ ไฮเทค ๆ เริ่มเข้ามาปฏิวัติวงการก่อสร้างไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเราและภูมิภาคอาเซียน เริ่มได้เห็นอาคารต้นแบบ อาคารประหยัดพลังงาน อาคารโครงสร้างฉลาด และสำเร็จรูป วิธีการแปลกใหม่ในการสร้างบ้านถูกนำมาเสนอขายเป็นแพ็คเกจง่าย ๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า การสร้างบ้านไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป ลองทำความรู้จัก อีกมิติหนึ่งของการสร้างบ้านยุคใหม่กันชัด ๆ แล้วคุณจะรู้ว่าเทคโนโลยีทำให้ชีวิตเราง่าย และสะดวกสบายมากขึ้นจริง ๆ PREFAB คืออะไร PREFAB (พรีแฟบ) มาจาก Prefabricated Building หมายถึง วิธีการก่อสร้างบ้านหรืออาคารโดย “ผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้นให้สำเร็จก่อนจะนำมาประกอบกันที่หน้างาน” วิธีการแบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เมื่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อย่าง บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท เป็นหัวขบวนนำระบบพรีแฟบ เข้ามาสร้างอาคาร และหมู่บ้านจัดสรร ด้วยวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดต้นทุนเวลาและแรงงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แนวคิด PREFAB เริ่มจากปัญหาของค่าแรงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และการขาดแคลนแรงงานฝีมือที่ไหลออก จากภาคการก่อสร้างทำให้มาตรฐานและคุณภาพงานด้อยลง นักออกแบบจึงเริ่มคิดวิธีการก่อสร้างรูปแบบ PREFAB ขึ้นมาหลากหลายวิธี ขึ้นกับโจทย์ของผู้พัฒนาอสังหาฯ แต่ละราย และการก่อสร้างระบบ PREFAB ยังแบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีกตามรูปแบบการประกอบและวัสดุ ดังนี้ 1. Precast (พรีคาสท์) ผนังสำเร็จรูป คือการเทหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กในแบบหล่อ แล้วยกเป็นผนังทีละชิ้นมาประกอบเป็นอาคาร โดยใช้ผนังเป็น “ผนังรับน้ำหนัก” (Loaded Bearing Walls) แทนระบบเสาคาน หรือบางรายเลือกใช้เป็นแค่เพียง “ส่วนผนัง” ร่วมกับระบบเสาคาน…
การกำหนดแนวรั้วและเขตที่ดินข้างเคียง
การกำหนดแนวรั้วและการป้องกันเศษวัสดุตกหล่นใส่ในเขตที่ดินข้างเคียง งานก่อสร้างอาคาร ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันเหตุพิพาทกันกับเจ้าของที่ดินข้างเคียง ทั้งในระหว่างงาน ก่อสร้างและหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรดำเนินการดังนี้ การกำหนดแนวรั้วเพื่อไม่ให้เกิดกรณีพิพาทกับที่ดินข้างเคียง ควรกำหนดแนวรั้ว และแนวก่อสร้าง ทำการการตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดินให้ตรงกันทั้งสองฝ่ายหรือและจัดทำ เอกสารไว้หลักฐาน ลงนามรับรองเอกสาร เรื่องทำการตกลงร่วมกัน ถึงการแนวเขตที่ดินข้างเคียง ก่อน ดำเนินการก่อสร้างแนวรั้วชั่วคราว หรือในงานก่อสร้างรั้วคอนกรีต ตำแหน่งหมุดหลักเขตที่ดินควร อยู่กึ่งกลางแนวรั้วเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มกรรมสิทธิ์ ที่ดินข้างเคียงงานก่อสร้างอาคารที่ติดกับเขตที่ดินข้างเคียง ตามเทศบัญญัติการ ก่อสร้างอาคาร แนวริมเสาของอาคาร จะต้องห่างจากแนวริมรั้วไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เว้นแต่ด้านที่ อยู่ชิดริมรั้ว ไม่มีหน้าต่างซึ่งเป็นเพียงช่องแสงเท่านั้น หากระยะในแบบแปลนผังบริเวณไม่ถูกต้องตาม เทศบัญญัติ จะไม่ได้รับพิจารณาอนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของอาคารหรือผู้ยื่นแบบขออนุญาต จะต้องทำการแก้ไขระยะในแบบแปลนให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เว้นแต่กรณีที่เจ้าของเขตที่ดินข้างเคียง เห็นชอบให้ก่อสร้างอาคารได้ และลงนามลายมือชื่ออนุญาต ให้ก่อสร้างได้…
อย่าเสริมพื้นให้สูงขึ้นโดยวิธีเทคอนกรีตทับ
ท่านที่ต้องการดัดแปลงต่อเติมบ้านของตน โดยการดัดแปลงนั้นบางส่วนท่านต้องการเสริม ความสูงของพื้นขึ้นมา (เช่นอยากให้ห้องครัว ที่ต่ำกว่าห้องทานข้าว ให้มีความสูงเท่า ๆ กัน) กรุณาอย่าเทคอนกรีต เพื่อเสริมความหนา (ความสูง) เด็ดขาด เพราะคอนกรีตที่ท่านเทสูงขึ้นเพียง 10 ซม. นั้นหนักถึง 240 กิโลกรัม/ตารางเมตร (คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 2.4 ตันครับ) ในขณะที่วิศวกรโครงสร้าง ออกแบบ ให้พื้นนั้นรับน้ำหนักได้เพียง 150 กก./ตร.ม เทปุ๊ปอาจพังปั๊บเลยครับ แต่หากคุณต้องการเสริมระดับจริง ๆ ขอให้คิดถึงวัสดุที่เบา ๆ เช่นไม้หรืออิฐมอญ เป็นต้น ทางที่ดี และปลอดภัย ที่สุดก็คือ ปรึกษาสถาปนิก-วิศวกรหน่อยเถอะครับ…
ส่วนประกอบของหลังคา
ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาที่จะพูดถึงนี้เป็นการพูดถึงโดยรวม โดยเน้นส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างหลังคา โดยไม่ได้แยกว่าเป็นโครงหลังคาเหล็ก หรือ โครงหลังคาไม้ ส่วนประกอบหลักๆของโครงสร้างหลังคาได้แก่ 1. ระแนง หรือ แป ระแนง (Batten) ทำหน้าที่ในการรองรับกระเบื้องขนาดเล็กในสมัยก่อน เช่น กระเบื้องหลังคา บ้านทรงไทย แต่ในปัจจุบัน ระแนงจะเปลี่ยนมาใช้เป็นเหล็กกล่องขนาด 25x25x1.6 มม. หรือ 50x50x1.6 มม. เพื่อให้มีความแข็งแรง แบกรับน้ำหนักกระเบื้องได้ดี แป (Purlin) ทำหน้าที่ในการรองรับกระเบื้องขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักไม่มาก โดยจะใช้เป็นไม้ยางในสมัยก่อน ปัจจุบันจะนิยมใช้แปเหล็กตัวซี หรือ เหล็กกล่องมาใช้ เพื่อความแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบแปที่เป็นเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ เพื่อป้องกันสนิม และไม่ต้องทาสีซ้ำ 2. จันทัน จันทัน หรือ Rafter เป็นส่วนโครงสร้างที่รับน้ำหนักจากแป โดยจันทันจะวางพาดระหว่างอเสเพื่อถ่ายน้ำหนักที่จันทันรับให้แก่ อเส…
กระจกมีกี่ชนิด แล้วจะเลือกใช้อย่างไร ?
กระจกมีหลายชนิดแน่นอน แต่หากเราจะแบ่งความแข็งแรงของกระจกเพื่อการใช้งานให้ถูกที่ และไม่บินลงมา ทำอันตราย ก็น่าจะแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ : กระจกธรรมดา หรือที่เรียกภาษาเทคนิคว่า Anneal Glass เวลาแตกจะเป็นปากปลาฉลามซึ่งอันตราย แต่ยังโชคดี ที่รอยแตกจะวิ่งเข้าสู่กรอบ ทำให้ส่วนใหญ่ ยังไม่หล่นลงมาโดยทันทีทันใด มองจากภายนอกไม่เป็นลอนดูเรียบสวยงามและยังแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ กระจกใส คือกระจกที่สามารถมองทะลุผ่านตัวกระจกไปได้ โปร่งแสง และให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ สามารถมองเห็นได้จากทั้งภายในและภายนอก มีค่าตัดแสงอยู่ที่ประมาณ 8% ส่วนมากจะหนา 12 มิลลิเมตร ค่าการตัดแสงจะเพิ่มขึ้นตามความหนาของกระจก กระจกใสจะไม่ดูดความร้อน แม้ว่าต้องอยู่ด้านนอกอาคารก็ทนอุณหภูมิอากาศได้ดี กระจกใส กระจกสี กระจกสีเกิดจากการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในขั้นตอนการผลิตทำให้กระจกเกิดสีสัน แต่กระจกสีจะต่างจากกระจกใสตรงที่ดูดความร้อน เพราะการเติมโลหะออกไซด์ลงไป ทำให้ดูดซึมความร้อนเข้ามาภายในอาคารได้มาก…