ข้อคิดที่สำคัญก่อนลงมือต่อเติมบ้าน
บ้านเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จะต้องเติบโตและแก่เฒ่าชราไป ดังนั้นการต่อเติมบ้าน เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ มีข้อคิด ที่น่าสนใจว่า เมื่อลงมือต่อเติมบ้านจะทำอย่างไร
• ถามตัวเองก่อนว่ามีเงินหรือเปล่า หากมีงบประมาณที่แน่นอน จงวางแผนที่จะใช้เงินนั้นเพียง 70% ของเงินที่มี เพราะ การต่อเติมบ้าน อาจพบกับปัญหา การบานปลายได้ง่ายกว่าการสร้างบ้านใหม่
• ตรวจเช็คว่าการต่อเติมนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ และหากจำเป็นต้องขออนุญาตต่อทางราชการ ก็ดำเนินการเสีย
• ระวังปัญหาโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่ เพราะอาคารใหม่ กับอาคารเก่า จะทรุดตัว ไม่เท่ากันแน่นอน เกิด “อาคารวิบัติ” ได้ หรือท่อแตกสายไฟขาด อันเนื่องจากการทรุดตัว ไม่เท่ากัน • ตรวจเช็คประปา-ไฟฟ้า สำหรับส่วนที่ต่อเติมว่าจะเอาจากไหนมาใช้ และอย่าต่อโดยไม่รู้เรื่องเช่นดึงสายไฟเล็ก ๆ จากบ้านเก่า มาเข้าบ้านใหม่ ทั้งหลัง สายไฟอาจช๊อตและไฟไหม้ ทั้งบ้านเก่าบ้านใหม่ หายหมด
ออกแบบตึกสูงให้มีปัญหาน้อยที่สุด เริ่มต้นที่ไหนดี?
ตึกสูงเป็นการนำเอาวิทยากรและเทคโนโลยี มาใช้ต่อสู้ กับ ธรรมชาติอย่างกล้าหาญและรุนแรง การออกแบบตึกสูง จึงไม่น่าจะ วางแนวทาง การทำงน เหมือนกับการ ออกแบบบ้าน หรือ อาคารขนาดเล็กที่ไม่ค่อยสลับซับซ้อน .. มิใช่เป็น การสอน หนังสือ สังฆราช แต่อยากจะแนะนำ แนวทางดังต่อไปนี้ (ให้เฉพาะมือใหม่ ๆ ก็พอ)
1.) สอบถามเจ้าของโครงการถึงความต้องการพื้นฐาน และงบประมาณ
2.) แล้ว ตรวจเช็คกฎหมายเสียก่อนว่าทำได้หรือไม่ และแค่ไหน
3.) หากกฎหมายผ่าน ตรวจเช็คความเป็นไปได้ และงบประมาณ สร้างสมมุติฐาน ถึงขนาดอาคาร และความสูงอาคาร
4.) หาก 1-3 ผ่าน จึงเริ่มการออกแบบต่อไป
5.) เริ่มต้นที่เช็คจำนวนลิฟท์-การติดต่อทางแนวตั้งเสียก่อน เพราะเป็นตัวบังคับที่สำคัญ การแก้ไขภายหลัง ทำได้ยากมาก
6.) แล้ว คุยกับวิศวกรโครงสร้างว่าจะจัดวางระบบโครงสร้างอย่างไร
7.) แล้ว คุยกับวิศวกรระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล-เครื่องกล ว่า จะวางแนวทางกันอย่างไร ท่อ- สาย-เครื่องเดินอย่างไร และ วางไว้ที่ใดได้บ้าง
8.) แล้ว จึงเริ่มวางรูปแบบ
9.) แต่หากคุณเก่ง-มีประสบการณ์แล้ว ลุยเลย ไม่ต้อง สนใจ ที่เขียนมา !
ทำไมที่จอดรถอาคารสูงถึงต้องออกแบบ ให้ Floor to Floor = 2.70 เมตร ทั้งที่ตามกฎหมาย ต้องการ ความสูง Floor to Ceiling เพียง 2.10 เมตร เท่านั้น?
เวลาออกแบบอาคารสูงสถาปนิกหลายท่านจะออกแบบให้ระยะพื้นถึงพื้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะเสียระยะถอยร่น (Setback) น้อยที่สุด เสียงบประมาณน้อยลง และยังทำให้ความยาว ของทางลาดวิ่ง (Ramp) สั้นลงไปด้วย หากยิ่งโครงสร้าง เป็นระบบ Flat Slab (พื้นเรียบ) ไม่ว่าจะเป็น PostTension หรือไม่ก็ตาม มักออกแบบ ให้ระยะ Floor to Floor ประมาณ 2.50 เมตร ซึ่งแบ่งให้เป็น ความหนาของพื้น 25-40 ซม. ส่วนที่เหลืออีก 2.10-2.25 เมตร ก็จะมีความสูงเพียงพอ กับที่จอดรถตามกฎหมายแต่หากไม่ติดอะไรจริงจังขอแนะนำให้ใช้ระยะ Floor to Floor = 2.70 เมตร เพราะระยะดังกล่าว ลิฟท์ (Elevator) ใ นทุกความเร็ว และทุกยี่ห้อ สามารถจอดได้ทุกชั้น หากเป็นระยะ 2.50 เมตร จะมีลิฟท์เพียงบางยี่ห้อ และบางความเร็วเท่านั้น ที่จะสามารถจอดได้ทุกชั้นเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ “ต้องจอดลิฟท์ชั้นเว้นชั้น” อย่างที่เคยพบ เคยเจอกันทั่วไปหรือไม่ก็ ทำให้ ราคาลิฟท์แพงขึ้น เพราะมีเพียงลิฟท์บางยี่ห้อเท่านั้น ที่จะสามารถ จอดได้ทุกชั้น (ณ 2.50 เมตร) การแข่งขันด้านราคาไม่เกิดขึ้น
ระวัง Transfer Floor จะต้องสูงเพียงพอ สำหรับ การรวมท่อ ไม่อย่างนั้นรถยนต์ อาจจะชน ท่อส้วม แตก กระจาย!!!
Transfer Floor คือชั้นของอาคารที่บรรดาท่อต่างๆ นานาชนิด จะรวมเข้าด้วยกัน เป็นท่อหลักใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ ในอาคารสูงทั่วไป ที่มีอาคารจอดรถ อยู่ข้างล่าง จะมีชั้น Transfer Floor อยู่ที่ชั้นจอดรถบนสุด ก่อนที่จะเป็น ชั้นประโยชน์ใช้สอย สถาปนิกบางท่านอาจลืมว่าชั้นนี้จะต้องมีความสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ ประมาณ 1-3 เมตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบ ที่ไม่มีวิศวกรระบบ อยู่ใกล้ ๆ มือ) เพื่อให้ท่อของชั้นใช้สอยบน ๆ ทั้งหลาย ได้มีโอกาส เอียงรวมเข้าสู่ท่อเมนหลัก ส่วนการเผื่อไว้เท่าไรนั้น เห็นจะบอกไม่ได้ เพราะต้องแล้วแต่ลักษณะของอาคาร ขนาดของอาคาร ขนาดของท่อที่ใช้ และความยาวของจุดรวมท่อ
สร้างบ้านสักหลัง ยกพื้นสูงเท่าไรดี จึงจะประหยัดทรัพย์ (บางส่วน)
ตามปกติทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกชอบยกพื้นชั้นล่างให้สูงขึ้น 1.00 เมตร เพราะเป็นตัวเลขที่ลงตัวดีแต่ความจริงแล้ว การยกพื้นบ้านสูง 1.00 เมตร จะแพงมาก เนื่องจากระยะ 1.00 เมตรเป็นระยะที่ต้องใช้ทรายถมแทนไม้แบบ หากใช้ไม้แบบก็จะต้องทิ้งไม้แบบนั้นไปเลย เพราะความสูงใต้พื้นใต้คานไม่พอที่จะคลานเข้าไปนำไม้แบบกลับคืนมา…. หากอยากประหยัด ขอแนะนำให้ยกขึ้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร ซึ่งจะมีความสูงใต้พื้น-คาน เพียงพอที่จะเอาไม้แบบคืนมา หรือไม่ก็ต่ำกว่า 1.00 เมตร ไปเลย จะได้เสียค่าทรายถมแทนแบบน้อยลง (หมายเหตุ : ระดับนี้นับจากระดับดินเดิมในขณะก่อสร้าง)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
https://www.nmp.co.th
https://www.narongmicrospun.com
https://www.facebook.com/narongmicrospun
Tel : 02-159-8480
Mobile : 081-309-7695 , 086-413-3862
ถ้ายังอยากเห็นคลิปวิดีโอการทำงานเพิ่มเติมของโปรเจคอื่น ๆ ก็สามารถเข้าดูได้ใน Youtube Chanel ของทางบริษัทที่ชื่อว่า บริษัท ณรงค์ไมโครสปัน จำกัด ได้เลย ในช่องมีหลากหลายคลิปให้คุณเลือกรับชมประกอบการพิจารณาได้ ซึ่งหากคุณรับชมแล้วก็จะได้เห็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมที่จะไว้ใจใช้บริการ เมื่อคุณสนใจก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อเพื่อจ้างงานได้
#ไมโครไพล์ #micropile #เสาเข็มไมโครไพล์ #งานตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็มราคา #ราคาตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็มราคาเท่าไหร่ #บริษัทณรงค์ไมโครสปัน #สปันไมโครไพล์ #spun micropile