ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
แอร์ติดผนัง (Wall Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องปรับอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย บำรุงรักษา-ซ่อมได้ง่าย มีหลากหลายฟังก์ชั่นให้ใช้งาน มีความเงียบ แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยมักจะมี BTU อยู่ที่ 9,000 BTU จนถึง 20,000 BTU เลยทีเดียว
แอร์แบบตั้งพื้นหรือแขวน ( Ceiling / Floor Type)
เป็นแอร์ที่ใช้งานคล้ายๆ กับเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แต่ชนิดนี้จะวางไว้กับพื้น ที่ห้อยแขวนไว้บนผนัง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับการติดตั้งบนพื้นควรจะคำนึงถึงการกระจายความเย็นด้วย ถ้าหากวางไว้ในตำแหน่งที่ไม่ดี ก็จะไม่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึง
แอร์แบบฝังติดเพดาน
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ จะเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง มีการติดตั้งที่ซับซ้อน แต่จุดเด่นของเครื่องปรับอากาศชนิดนี้คือ จะมองไม่เห็นตัวเครื่องปรับอากาศโผล่ออกมาด้านนอก ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ นอกจากจะใช้ภายในบ้านแล้ว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ก็ใช้งานเช่นกันเพราะเครื่องปรับอากาศชนิดนี้สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึง
ระบบปรับอากาศในอาคาร (HVAC)
เป็นระบบในการปรับอากาศขนาดใหญ่กว่าการติดตั้งแอร์บ้างทั่วไป โดยระบบนี้จะมีเครืองทำความเย็นและส่งและระบายลมออกผ่าน ท่อลม ซึ่งระบบนี้มักจะใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ขนาดใหญ่
แอร์แบบตู้ตั้งพื้น (Package Type)
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ไม่ค่อยนิยมใช้งานภายในบ้าน เพราะตัวตู้มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น ซึ่งเครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะเหมาะใช้ในพื้นที่มีขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุม สนามบิน
แอร์แบบเคลื่อนที่ (Movable Type)
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะเริ่มพบเห็นได้บ่อย เพราะมีขนาดเล็ก และยังเคลื่อนที่ได้อีกด้วย แต่แอร์ชนิดนี้มีขนาด BTU ที่ต่ำ จึงไม่เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่
แอร์แบบหน้าต่าง
เป็นเครื่องปรับอากาศชนิดที่พบเห็นได้ยากในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ไม่จำเป็นต้องใช้คอมเพรสเซอร์ ใช้ติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ดี แต่จะปรับอุณหภูมิและกระจายความเย็นได้ไม่ดี และมีเสียงดังในระหว่างการทำงาน
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของเครื่องปรับอากาศ มีหน้าที่ในการเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีคุณหภูมิและความดันสูงขึ้น
- คอยล์ร้อน (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่จะติดตั้งภายนอก ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนจากสารทำความเย็นออก
- คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ติดตังอยู่ภายใน ทำหน้าที่ในการดูดซับความร้อนจากภายในให้เข้าไปสู่สารทำความเย็น
- อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
- คอมเพรสเซอร์ จะดูดและอัดความดันเข้าสู่สารทำความเย็นและส่งต่อไปยังคอยล์ร้อน
- น้ำยาจะไหลผ่านแผงคอยล์ร้อน และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้อุณหภูมิลดลง และส่งต่อไปยังอุปกรณ์ลดความดัน
- น้ำยาจะไหลผ่านจากอุปกรณ์ลดความดันไปยังคอยล์เย็น โดยผ่านท่อ ซึ่งน้ำยาที่ไหลในส่วนนี้จะมีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำ
- น้ำยาจะไหลผ่านแผงคอยล์เย็น โดยมีพัดลมเป่า ทำให้สารทำความเย็นดูดซับความร้อนออกจากภายในห้อง ทำให้น้ำยามีความร้อนสูงขึ้น และจะถูกส่งกลับไปยังคอมเพรสเซอร์
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศเป็นขนาดเป็น BTU ย่อมาจาก British thermal unit เป็นหน่วยวัดที่บอกถึงประสิทธิภาพในการทำความเย็น ซึ่งการเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดห้องที่ใช้งาน
- ถ้าหากใช้แอร์ที่มี BTU ต่ำไป จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องทำงานหนักเกินไป ทำให้เครื่องปรับอากาศเสียได้เร็วขึ้น
- ถ้าหากใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินไป ทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดการทำงานบ่อย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้มีความชื้นในห้องสูง อยู่แล้วไม่สบายตัว
ตารางขนาดของห้องเทียบกับ BTU
ขนาด BTU | ขนาดของห้อง (ตารางเมตร) | ขนาดของห้องที่โดนแสงแดด (ตารางเมตร) |
---|---|---|
9,000 | 12-15 | 11-14 |
12,000 | 16-20 | 14-18 |
18,000 | 24-30 | 21-27 |
21,000 | 28-35 | 25-32 |
24,000 | 32-40 | 28-36 |
26,000 | 35-44 | 30-39 |
30,000 | 40-50 | 35-45 |
36,000 | 48-60 | 42-54 |
48,000 | 64-80 | 56-72 |
60,000 | 80-100 | 70-90 |
ขอบคุณที่มา https://www.tpe-trading.com/air-conditioner/