Skip to content

BUS DUCT คืออะไร และสร้างปัญหาอะไร?

  • by
busduct

บัสดักส์ (Busduct) หรืออีกชื่อคือ บัสเวย์ (Busway) เป็นทางเดินไฟฟ้าสำหรับส่งจ่ายในระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่คล้ายๆกับสายไฟฟ้า มีลักษณะเป็นแท่งตัวนำ ทำมาจากทองแดงหรือ อะลูมิเนียม โดยทั่วไปแล้วแท่งตัวนำจะนำมารวมเข้าด้วยกันเป็นแท่งเดียว ภายในตัวนำจะแยกออกจากกันด้วยฉนวนไฟฟ้า นิยมใช้ในระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย แรงดัน 380/220 โวลต์ มักใช้งานในอาคารสูงและโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากติดตั้งง่ายและปลอดภัย

Busduct ในปัจจุบันนั้นแยกออกเป็น 2 ประเภท

  1. รูปแบบ Indoor ใช้ติดตั้งในอาคารที่ไม่มีความชื้น เช่น ตู้ไฟฟ้าภายในหรือการเดินระบบไฟฟ้าตามชั้นต่างๆ
  2. รูปแบบ Outdoor ใช้ติดตั้งภายนอกตัวอาคารหรือชั้นใต้ดินที่มีสภาพชื้น

โครงสร้างของ Busduct จะประกอบด้วย

  1. ตัวนำ (conductor) มีด้วยกัน 2 แบบคือทองแดงและอะลูมิเนียม ซึ่งวัสดุทั้งสองตัวจะถูกเคลือบผิวด้วยดีบุกเพื่อป้องกันการกัดกร่อน ในปัจจุบันนิยมใช้อะลูมิเนียมมากกว่าทองแดง เนื่องจากมีราคาถูกและน้ำหนักเบา  การทนต่อกระแสของตัวนำมีขนาดตั้งแต่ 225, 400, 600, 800, 1000, 1200, 1350, 1600, 2000, 2500, 3000, 4000และ 5000แอมแปร์ขึ้นไป
  2. ฉนวนไฟฟ้า (Insulation) ในยุคแรกของการผลิตบัสเวย์เพื่อใช้แทนสายไฟนั้น ยังไม่มีการวางตัวนำชิดติดกัน โดยจะเว้นระยะห่างด้วยอากาศเป็นฉนวนแทน (Air Insulation) ถัดมามีการออกแบบให้มีขนาด Compact มากขึ้น โดยการวางตัวนำชิดติดกันเรียกว่า Sandwich type ซึ่งจะใช้ฉนวน 2 แบบคือ ฉนวนแบบ Mylar มีอายุการใช้งานประมาณ 20-30 ปี และฉนวนแบบ Epoxy มีอายุการใช้งานประมาณ 50 ปี
  3. อุปกรณ์เสริม (housing) คือโครงที่ห่อหุ้มตัวนำ โดยวัสดุที่นำมาใช้ คือ เหล็กและอะลูมิเนียม แต่ในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน คืออะลูมิเนียมเนื่องจากมีความแข็งแรงสูง กระจายความร้อนได้ดีและน้ำหนักเบา อีกทั้งยังป้องกันการกัดกร่อน ฝุ่นและน้ำเข้าได้

ข้อดีของการนำ Busduct มาใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า

  1. มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งได้ง่าย
  2. มีความทนทานที่มากกว่าสายไฟธรรมดา เนื่องจาก Housing เป็นอะลูมิเนียม
  3. สามารถระบายความร้อนได้ดี
  4. ติดได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตามมาตรฐาน IP55 และ IP66
  5. มีความต้านภายในต่ำ
  6. ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรมากกว่าสายไฟทั่วไป

BUS DUCT จะสร้างปัญหาอะไรบ้าง?

Bus duct มักจะเป็นตัวสร้างปัญหาให้อาคาร หากสถาปนิกไม่ได้เตรียมทางเดินให้มันเดินจากห้องไฟฟ้า ไปสู่ช่องท่อ เพราะ Bus duct เป็นแท่งโลหะที่หนักมาก (ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อท่อน) และยากต่อการ หักเลี้ยว (ต้องมีระยะโค้งให้พอ) บางครั้งก็เอาทางเดิน Bus duct ไปผ่านโถงอาคารหรือกำแพงลิฟท์ หากท่านกำลังออกแบบอาคารขนาดใหญ่อยู่ อย่าลืมถามวิศวกรไฟ้ฟ้าสักหน่อยว่าเขาจะเดิน Bus duct ได้อย่างไร

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
https://www.nmp.co.th
https://www.narongmicrospun.com
https://www.facebook.com/narongmicrospun
Tel : 02-159-8480
Mobile : 081-309-7695 , 086-413-3862
ถ้ายังอยากเห็นคลิปวิดีโอการทำงานเพิ่มเติมของโปรเจคอื่น ๆ ก็สามารถเข้าดูได้ใน Youtube Chanel ของทางบริษัทที่ชื่อว่า บริษัท ณรงค์ไมโครสปัน จำกัด ได้เลย ในช่องมีหลากหลายคลิปให้คุณเลือกรับชมประกอบการพิจารณาได้ ซึ่งหากคุณรับชมแล้วก็จะได้เห็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมที่จะไว้ใจใช้บริการ เมื่อคุณสนใจก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อเพื่อจ้างงานได้

#ไมโครไพล์ #micropile #เสาเข็มไมโครไพล์ #งานตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็มราคา #ราคาตอกเสาเข็ม #ตอกเสาเข็มราคาเท่าไหร่ #บริษัทณรงค์ไมโครสปัน #สปันไมโครไพล์ #spun micropile

Leave a Reply