Skip to content

การกำหนดแนวรั้วและเขตที่ดินข้างเคียง

  • by

การกำหนดแนวรั้วและการป้องกันเศษวัสดุตกหล่นใส่ในเขตที่ดินข้างเคียง งานก่อสร้างอาคาร ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันเหตุพิพาทกันกับเจ้าของที่ดินข้างเคียง ทั้งในระหว่างงาน ก่อสร้างและหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรดำเนินการดังนี้

การกำหนดแนวรั้ว
เพื่อไม่ให้เกิดกรณีพิพาทกับที่ดินข้างเคียง ควรกำหนดแนวรั้ว และแนวก่อสร้าง ทำการการตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดินให้ตรงกันทั้งสองฝ่ายหรือและจัดทำ เอกสารไว้หลักฐาน ลงนามรับรองเอกสาร เรื่องทำการตกลงร่วมกัน ถึงการแนวเขตที่ดินข้างเคียง ก่อน ดำเนินการก่อสร้างแนวรั้วชั่วคราว หรือในงานก่อสร้างรั้วคอนกรีต ตำแหน่งหมุดหลักเขตที่ดินควร อยู่กึ่งกลางแนวรั้วเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มกรรมสิทธิ์

ที่ดินข้างเคียง
งานก่อสร้างอาคารที่ติดกับเขตที่ดินข้างเคียง ตามเทศบัญญัติการ ก่อสร้างอาคาร แนวริมเสาของอาคาร จะต้องห่างจากแนวริมรั้วไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เว้นแต่ด้านที่ อยู่ชิดริมรั้ว ไม่มีหน้าต่างซึ่งเป็นเพียงช่องแสงเท่านั้น หากระยะในแบบแปลนผังบริเวณไม่ถูกต้องตาม เทศบัญญัติ จะไม่ได้รับพิจารณาอนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของอาคารหรือผู้ยื่นแบบขออนุญาต จะต้องทำการแก้ไขระยะในแบบแปลนให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เว้นแต่กรณีที่เจ้าของเขตที่ดินข้างเคียง เห็นชอบให้ก่อสร้างอาคารได้ และลงนามลายมือชื่ออนุญาต ให้ก่อสร้างได้ เป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อควรระวังเกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคารที่อยู่ใกล้กับที่ข้างเคียงคือ

  1. ฐานรากจะต้องไม่ล้ำเข้าไปในเขตที่ข้างเคียง หากจำเป็นที่ต้องทำฐานรากติดกับเขตที่ดินข้างเคียง ควรใช้ฐานรากแบบตีนเป็ด แล้วนำส่วนที่ฐานแผ่เข้าด้านในอาคาร
  2. เศษวัสดุ ไม่ควรทิ้งหรือให้ล่วงล้ำเข้าไปเขตที่ข้างเคียง ควรตีไม้กั้นรั้วรอบบริเวณงาน ก่อสร้าง หรือการตีคร่าวกรุสังกะสีลาดเอียงรองรับเศษวัสดุ ที่จะตกใส่ที่ข้างเคียง
  3. ต้องไม่ทำให้อาคารที่ข้างเคียงได้รับผลกระทบเนื่องจากการถมดิน หรือการตอกเสาเข็ม

สิ่งอำนวยความสะดวกชั่วคราว

  • สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
    • สำนักงานชั่วคราว จะต้องสร้างสำนักงานชั่วคราวในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง สำหรับ เป็นที่ทำงานของผู้รับจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ประกอบด้วยอุปกรณ์ประกอบ สำนักงานที่จำเป็น เช่น โต๊ะทำงาน โต๊ะเขียนแบบ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โทรศัพท์ โทรสาร ตู้เอกสาร ห้องน้ำห้องส้วม เป็นต้น
    • บ้านพักคนงาน จะต้องสร้างบ้านพักคนงาน ห้องน้ำ ห้องส้วมและสิ่งสาธารณูปโภคที่ จำเป็นในบริเวณที่ผู้ควบคุมกำหนด และดูแลให้อยู่ในสภาพปลอดภัยถูกสุขลักษณะ มีการขจัด ขยะมูลฝอยเป็นประจำ
    • โรงงาน โรงเก็บวัสดุ จะต้องจัดให้มีโรงงาน โรงเก็บวัสดุอุปกรณ์เพื่อเก็บ และป้องกัน ความเสียหายของวัสดุและอุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง โดยให้มีขนาดและความเหมาะสม เพียงพอกับความต้องการ และไม่ควรนำวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆที่ไม่ได้นำมาใช้ในงาน ก่อสร้างอาคารมาเก็บไว้ในโรงเก็บวัสดุ
    • ที่กองเก็บวัสดุ จะต้องจัดเตรียมที่กองเก็บวัสดุต่างๆ ที่จะต้องใช้ในการงาน ก่อสร้างเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเกิดการเสียหายน้อยที่สุดเช่น การกองเก็บหิน ทรายหยาบ ทรายละเอียด อิฐมอญ อิฐคอนกรีตบล็อก และไม้แบบเป็นต้น
  • ไฟฟ้าที่ใช้ในงานก่อสร้าง
    ควรจัดให้มีระบบการใช้ไฟฟ้าดังนี้
    • ระบบไฟฟ้าชั่วคราว ที่ใช้ในงานก่อสร้างทั้งในระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้า แสงสว่างผู้รับจ้างจะต้องขออนุญาตติดตั้งระบบไฟฟ้าชั่วคราวจากการไฟฟ้าฯ รวมทั้ง ค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ทั้งหลาย ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษา ค่ารื้อถอน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องจัดหาหรือคิด เผื่อไว้ การจัดให้มีระบบไฟฟ้าชั่วคราวที่ใช้ในงานก่อสร้างดังกล่าว รวมไปถึงส่วนที่เป็นงานของผู้รับจ้างช่วงและผู้รับจ้างอื่นด้วย
    • ความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้า ควรจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และดำเนินการติดตั้งระบบ ไฟฟ้าชั่วคราวที่ใช้ในงานก่อสร้าง ให้มีความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งระบบการป้องกัน การลัดวงจรและการตัดตอนไฟฟ้าได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบและ ข้อบังคับ ของการไฟฟ้าฯ และหรือมาตรฐานความปลอดภัยตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ด้วย
    • ขนาดของกระแสไฟฟ้าชั่วคราว ที่ใช้ในงานก่อสร้างให้เป็นความรับผิดชอบของผู้รับจ้างที่จะต้องจัดให้มีเพียงพอกับการใช้ ในส่วนที่เป็นงานของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง และ ผู้รับเหมารายอื่นที่ทำงานในงานก่อสร้างนี้ให้ใช้ร่วมกันได้ และอาจจะต้องขอเพิ่มเติมขนาด กระแสไฟฟ้าชั่วคราวจากการไฟฟ้าฯ ให้เหมาะสมได้ตามความจำเป็น โดยผู้รับจ้างจะเป็น ผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
  • น้ำประปาที่ใช้ในการก่อสร้าง
    จะต้องจัดให้มีระบบน้ำประปาชั่วคราว เพื่อใช้ในงานก่อสร้างตั้งแต่เริ่มงานจนงานแล้ว เสร็จ รวมทั้งการทดสอบระบบสุขาภิบาลทั้งหมดโดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การขออนุญาต ติดตั้งระบบน้ำาประปาจากการประปาฯ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทั้งหลาย ค่าน้ำประปา ค่าบำรุงรักษา ค่ารื้อถอนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องจัดหาหรือคิดเผื่อไว้ การจัดให้มีระบบน้ำประปา ชั่วคราวรวมไปถึงงานที่เป็นงานของผู้รับจ้างเอง และในส่วนของของผู้รับจ้างรายอื่นๆ ด้วย

Leave a Reply